ประวัติดนตรีสากล
ยุคสมัยของดนตรีตะวันตก
เนื่องจากโครงสร้างของดนตรีตะวันตกมีการพัฒนาเปลี่ยนไปเสมอ
ตามแนวความคิดของผู้ประพันธ์เพลงจึงทำให้เกิดเป็นลักษณะของดนตรีในแต่ละยุคขึ้นมา การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของบทเพลงในแต่ละยุค
จะช่วยให้ทีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของดนตรีในแต่ละยุค ดังนี้ สมัยใหญ่ ๆ
ดังนี้
1. ยุคกลาง (Middle
Ages)
ยุคนี้คือ ช่วงเวลาระหว่างศตวรรษที่ 5-15 (ราว
ค.ศ. 450-1400) อาจเรียกว่ายุคเมดิอีวัล(MedievalPeriod)ดนตรีในยุคนี้เป็น vocal
polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลายแนวสอดประสานกันซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant) และเป็นเพลงแบบมีทำนองเดียว (Monophony) ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non-metrical) ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ ¾ ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตราจังหวะ 2/4 เพลงร้องพบได้ทั่วไปและเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีรูปแบบของเพลงเป็นแบบล้บทำนอง (Canon) นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ มาโซท์และแลนดินี
ตัวอย่างโน้ตเพลงโบราณ
วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดของดนตรีเกิดขึ้นที่ปลายยุคกลางราวคริสต์ศตวรรษที่9 คือการเพิ่มแนวร้องขึ้นอีกแนวหนึ่งเป็นเสียงร้องที่เป็นคู่ขนานกับทำนองหลัก
กำหนดให้ร้องพร้อมกันไปวิธีการเขียนเพลงที่มี2แนวนี้เรียกว่าออร์แกนุม (Organum) จากจุดเริ่มนี้เองดนตรีสากลก็ได้พัฒนาไปอย่างมากมายจากแนวสองแนวที่ขนานกันเป็นสองแนวแต่ไม่จำเป็นต้องขนานกันเสมอไปสวนทางกันได้ ต่อมาได้เพิ่มเสียงสองแนวเป็นสามแนวและเป็นสี่แนวจากเพลงร้องดั้งเดิมที่มีเพียงเสียงเดียวได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นเพลงหลายแนวเสียงหรือเรียกว่าโพลีโฟนี
(Polyphony)
ตัวอย่างโน้ตเพลงสองแนว
2. ยุครีเนซองค์ (Renaissance
Period)
เป็นดนตรีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว ค.ศ. 1450-1600) การสอดประสาน (Polyphony) ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อกันของแนวทำนองเดียวกัน(Imitativestyle)ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบโหมด(Modes)ยังไม่นิยมแบบบันไดเสียง(Scales)การประสานเสียงเกิดจากแนวทำนองแต่ละแนวสอดประสานกันมิได้เกิดจากการใช้คุณสมบัติขอ'คอร์ดลักษณะของจังหวะมีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะและไม่มีอัตราจังหวะลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยยังมีน้อยไม่ค่อยพบลักษณะของเพลงมีความนิยมพอๆกันระหว่างเพลงร้องและบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเริ่มมีการผสมวงเล็กๆเกิดขึ้นนักดนตรีที่ควรรู้จักคือจอสกิน-เดอส์ เพรซ์ ปาเลสตรินา และเบิร์ด
ภาพการเล่นดนตรียุคเรเนสซองส์
3. ยุคบาโรค (Baroque
Period)
เป็นยุคของดนตรีในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว ค.ศ. 1600-1750) การสอดประสาน เป็นลักษณะที่พบได้เสมอในปลายยุค ช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะการใส่เสียงประสาน(Homophony) เริ่มนิยมการใช้เสียงเมเจอร์และไมเนอร์แทนการใช้โหมดต่างๆการประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบมีการใช้เสียงหลัก (Tonal canter) อัตราจังหวะเป็นสิ่งสำคัญของบทเพลงการใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยเป็นลักษณะของความดัง-ค่อยมากกว่าจะใช้ลักษณtค่อยๆดังขึ้นหรือค่อยๆลง(Crescendo,
diminuendo)ไม่มีลักษณะของความดังค่อยอย่างมาก (Fortissimo, pianisso) บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้นบทเพลงร้องยังคงมีอยู่และเป็นทีนิยมเช่นกันนิยมการนำวงดนตรีเล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม เครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น(Concerto grosso) นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี คอเรลลี วิวัลดี บาค ฮันเดล
ในสมัยบาโรกนี้การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะการบันทึกตัวโน้ตที่ใช้ในปัจจุบัน
คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G
Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโตและกุญแจเทเนอร์
(C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแหน่งของตัวโน้ตบรรทัด
5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสัญลักษณ์อื่น
ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี ดังนี้
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535: 147)
4. ยุคคลาสสิค (Classical
period)
เป็นยุคที่ดนตรีมีกฎเกณฑ์แบบแผนอย่างมาก อยู่ในระหว่างศตวรรษที่ 18 และช่วงต้นศตวรรษที่ 19
(ค.ศ. 1750-1825) การใส่เสียงประสานเป็นลักษณะเด่นของยุคนี้การสอดประสานพบได้บ้างแต่ไม่เด่นเท่าการใส่เสียงประสานการใช้บันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์เป็นหลักในการประพันธ์เพลงลักษณะของบทเพลงมีความสวยงามมีแบบแผนบริสุทธิ์มีการใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยเป็oสำคัญ ลีลาของเพลงอยู่ในขอบเขตที่นักประพันธ์ในยุคนี้ยอมรับกัน ไม่มีการแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้ประพันธ์ไว้ในบทเพลงอย่างเด่นชัดการผสมวงดนตรีพัฒนามากขึ้นการบรรเลงโดยใช้วงและการเดี่ยวดนตรีของผู้เล่นเพียงคนเดียว (Concerto)เป็นลักษณะที่นิยมในยุคนี้บทเพลลงประเภทซิมโฟนีมีแบบแผนที่นิยมกันในยุคนี้เช่นเดียวกับเพลงเดี่ยว(Sonata)ด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่นิยมเป็นอย่างมากบทเพลงร้องมีลักษณะซับซ้อนกันมากขึ้น เช่นเดียวกับบทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ กลุค ไฮเดิน โมทซาร์ท และเบโธเฟน
สรุปลักษณะสำคัญของดนตรีสมัยคลาสสิก
(ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :105)
สรุปลักษณะสำคัญของดนตรีสมัยคลาสสิก
(ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :105)
1. ฟอร์ม หรือคีตลักษณ์ (Forms) มีโครงสร้างที่ชัดเจนแน่นอน
และยึดถือปฏิบัติมาเป็นธรรมเนียมนิยมอย่างเคร่งครัดเห็นได้จากฟ
อร์มโซนาตาที่เกิดขึ้นในสมัยคลาสสิก
2. สไตล์ทำนอง (Melodic Style) ได้มีการพัฒนาทำนองชนิดใหม่ขึ้นมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเองและ
รัดกุมกะทัดรัดมากขึ้น มีความแจ่มแจ้งและความเรียบง่ายซึ่งมักจะทำตามกันมา
สไตล์ทำนองลักษณะนี้ได้เข้ามาแทนที่ทำนองที่มีลักษณะยาว
ซึ่งมีสไตล์ใช้กลุ่มจังหวะตัวโน้ตในการสร้างทำนอง (Figuration Style) ซึ่งนิยมกันมาก่อนในสมัยบาโรก ในดนตรีแบบ Polyphony
3. สไตล์แบบโฮโมโฟนิค (Homophonic Style) ความสำคัญอันใหม่ที่เกิดขึ้นแนวทำนองพิเศษในการประกอบทำนองหลัก
(Theme) ก็คือลักษณะพื้นผิวที่ได้รับความนิยมมากกว่าสไตล์พื้นผิวแบบโพล
ี่โฟนีเดิม สิ่งพิเศษของลักษณะดังกล่าวนั่นก็คือ Alberti bass ซึ่งก็คือลักษณะการบรรเลงคลอประกอบแบบ Broken Chord ชนิดพิเศษ
นักดนตรีในยุคนี้ได้แก่
1. โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn ค.ศ. 1732
- 1828) ผู้นี้ได้วางรากฐานทางด้านเพลงซิมโฟนีไว้มาก
และแต่งเพลงซิมโฟนี ไว้ถึง 104 เพลง จนได้รับฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งเพลงซิมโฟนี”
และยังได้ปรับปรุงสตริงควอเตท (String Quartet) ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
และแต่งเพลงซิมโฟนี ไว้ถึง 104 เพลง จนได้รับฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งเพลงซิมโฟนี”
และยังได้ปรับปรุงสตริงควอเตท (String Quartet) ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart ค.ศ. 1756
- 1791) ได้รับการยกย่องมากอีกท่านหนึ่ง
ซึ่งได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้มากและแต่ละเพลงล้วนมีความไพเราะมาก
ซึ่งได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้มากและแต่ละเพลงล้วนมีความไพเราะมาก
3. เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven ค.ศ. 1770 -
1827)
มีผลงานต่างๆ ที่น่าประทับใจมากมาย
มีผลงานต่างๆ ที่น่าประทับใจมากมาย
5. ยุคโรแมนติด(Romantic period)
เป็นยุคของดนตรีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19(ราว
ค.ศ. 1825-1900) ลักษณะเด่นของดนตรีในยุคนี้
คือ เป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกของนักประพันธ์เพลงเป็นอย่างมากฉะนั้นโครงสร้างของดนตรีจึงมีหลากหลายแตกต่างกันไปในรายละเอียดโดยการพัฒนาหลักการต่างๆต่อจากยุคคลาสสิกหลักการใช้บันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์ยังเป็นสิ่งสำคัญแต่ลักษณะการประสานเสียงมีการพัฒนาและคิดค้นหลักใหม่ๆขึ้นอย่างมากเพื่อเป็นการสื่อสารแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลงการใส่เสียงประสานจึงเป็นลักษณะเด่นของเพลงในยุคนี้ บทเพลงมักจะมีความยาวมากขึ้นเนื่องจากมีการขยายรูปแบบของโครงสร้างดนตรีมีการใส่สีสันของเสียงจากเครื่องดนตรีเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์ลักษณะการผสมวงพัฒนาไปมากวงออร์เคสตร้ามีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในยุคคลาสสิคบทเพลงมีลักษณะต่างๆกันออกไป เพลงซศิมโฟนี โซนาตา และเซมเบอร์มิวสิก ยังคงเป็นรูปแบบที่นิยมนอกเหนือไปจากเพลงลักษณะอื่นๆเช่น Prelude, Etude,Fantasia เป็นต้น นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้มีเป็นจำนวนมาก เช่น เบโธเฟน ชูเบิร์ต โชแปง ลิสซท์ เมนเดลซอน เบร์ลิโอส ชูมานน์ แวร์ดี บราหมส์ ไชคอฟสี ริมสกี-คอร์สคอฟ รัคมานินอฟ วากเนอร์ กรีก ริชาร์ด สเตราห์ มาห์เลอร์ และซิเบลุส เป็นต้น
6.ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (Impressionistic Period หรือ Impressionism)
6.ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (Impressionistic Period หรือ Impressionism)
เป็นดนตรีอยู่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1890 –
1910 ลักษณะสำคัญของเพลงยุคนี้คือ ใช้บันไดเสียงแบบเสียงเต็ม ซึ่งทำให้บทเพลงมีลักษณะลึกลับ
คลุมเครือไม่กระจ่างชัด เนื่องมาจากการประสานเสียงโดยใช้ในบันไดเสียงแบบเสียงเต็ม
บางครั้งจะมีความรู้สึกโล่งๆว่างๆ เสียงไม่หนักแน่น
ดังเช่น เพลงในยุคโรแมนติก การประสานเสียงไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ในยุคก่อนๆ สามารถพบการประสานเสียงแปลก ๆ
ไม่คาดคิดได้ในบทเพลงประเภทอิมเพรสชั่นนิซึม รูปแบบของเลงเป็นรูปแบบง่าย
มักเป็นบทเพลงสั้นๆ รวมเป็นชุด นักดนตรีที่ควรรู้จัก
คือ เดอบูสซี ราเวล และเดลิอุส
7. ยุคศตวรรษที่ 20(Contemporary
Period)
ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการทดลองสิ่งแปลกๆ
ใหม่ๆ และนำเอาหลักการเก่าๆ
มากพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับแนวความคิดในยุคปัจจุบัน เช่น หลักการเคาเตอร์พอยต์ (Counterpoint) ของโครงสร้างดนตรีแบบการสอดประสาน มีการใช้ประสานเสียงโดย การใช้บันไดเสียงต่างๆ รวมกัน (Polytonatity) และการไม่ใช่เสียงหลักในการแต่งทำนองหรือประสานเสียงจึงเป็นเพลงแบบใช้บันไดเสียง 12 เสียง(Twelve-tone scale)ซึ่งเรียกว่า Atonality อัตราจังหวะที่ใช้ทีการกลับไปกลับมา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือการใช้การประสานเสียงที่ฟังระคายหูเป็นพื้น (Dissonance) วงดนตรีกลับมาเป็นวงเล็กแบบเชมเบอร์มิวสิก ไม่นิยมวงออร์เคสตรา มักมีการใช้อิเลกโทรนิกส์
ทำให้เกิดเสียงดนตรีซึ่งมีสีสันที่แปลกออกไป เน้นการใช้จังหวะรูปแบบต่างๆ บางครั้งไม่มีทำนองที่โดดเด่น ในขณะที่แนวคิดแบบโรแมนติกมีการพัฒนาควบคู่ไปเช่นกัน เรียกว่า นีโอโรแมนติก (Neo-Romantic) กล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างของเพลงในศตวรรษที่ 20 นี้มีหลากหลายมาก สามารถพบสิ่งต่างๆตั้งแต่ยุค
ต่างๆมาที่ผ่านมา แต่มีแนวคิดใหม่ที่เพิ่มเข้าไป นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ สตราวินสกี โชนเบิร์ก บาร์ตอก เบอร์ก ไอฟส์ คอปแลนด์ ชอสตาโกวิช โปโกเฟียฟ ฮินเดมิธ เคจ เป็นต้น
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก
หรือ
สแกน QR Code
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น