องค์ประกอบดนตรีไทย



องค์ประกอบดนตรีไทย


1.เสียงของดนตรีไทย

เสียงดนตรีไทยประกอบด้วยระดับเสียง 7 เสียง แต่ละเสียงมีช่วงห่างเท่ากันทุกเสียง เสียงดนตรีไทย แต่ละเสียงเรียกชื่อแตกต่างกันไป ในดนตรีไทยเรียกระดับเสียงว่า “ทาง” ในที่นี้ ก็คือ ระดับเสียงของเพลงที่บรรเลงซึ่งกำหนดชื่อเรียกเป็นที่หมายรู้กันทุกๆเสียง  จำแนกเรียงลำดับขึ้นไปทีละเสียง

 2. จังหวะของดนตรีไทย 

จังหวะ” มีความหมายถึงมาตราส่วนของระบบดนตรีที่ดำเนินไปในช่วงของการบรรเลงเพลงอย่างสม่ำเสมอ เป็นตัวกำหนดให้ผู้บรรเลงจะต้องใช้เป็นหลักในการ บรรเลงเพลงจังหวะของดนตรีไทยจำแนกได้ 3 ประเภท คือ      1. จังหวะสามัญ หมายถึงจังหวะทั่วไปที่นักดนตรียึดเป็นหลักสำคัญในการบรรเลงและขับร้องโดยปกติจังหวะสามัญที่ใช้กันในวงดนตรีจะมี  3 ระดับ คือ 
        จังหวะช้า                 ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ     สามชั้น
        จังหวะปานกลาง            ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ     สองชั้น
        จังหวะเร็ว                ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ     ชั้นเดียว
     2. จังหวะฉิ่ง หมายถึง  จังหวะที่ใช้ฉิ่งเป็นหลักในการตี โดยปกติจังหวะฉิ่งจะตี “ฉิ่ง…ฉับ”สลับกันไปตลอดทั้งเพลง แต่จะมีเพลงบางประเภทตีเฉพาะ “ฉิ่ง” ตลอดเพลงบางเพลงตี “ฉิ่ง  ฉิ่ง  ฉับ” ตลอดทั้งเพลง หรืออาจจะตีแบบอื่นๆ ก็ได้  จังหวะฉิ่งนี้นักฟังเพลงจะใช้เป็นแนวในการพิจารณาว่าช่วงใดเป็นอัตราจังหวะสามชั้น สองชั้น หรือ ชั้นเดียวก็ได้ เพราะฉิ่งจะตีเพลงสามชั้นให้มีช่วงห่างตามอัตราจังหวะของเพลง  หรือ ตีเร็วกระชั้นจังหวะ ในเพลงชั้นเดียว


1 2 3 4
1 2 3 4
1 2 3 4
1 2 3 4
สามชั้น
 -  -  -  -
 - - - ฉิ่ง
 - - - -
 - - - ฉับ
สองชั้น
 -  -  - ฉิ่ง
 - - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
 - - - ฉับ
ชั้นเดียว
 - ฉิ่ง- ฉับ
- ฉิ่ง- ฉับ
- ฉิ่ง- ฉับ
- ฉิ่ง- ฉับ
      3. จังหวะหน้าทับ หมายถึงเกณฑ์การนับจังหวะที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี
ประเภทหนังซึ่งเลียนเสียงการตีมาจาก “ทับ”  เป็นเครื่องกำหนดจังหวะ
เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ตะโพน กลองแขก สองหน้า โทน - รำมะนา หน้าทับ

3. ทำนองดนตรีไทย 

ลักษณะทำนองเพลงที่มีเสียงสูงๆ ต่ำๆ สั้นๆ ยาวๆ สลับ คละเคล้ากันไป ตามจินตนาการของคีตกวีที่ประพันธ์  บทเพลงซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เหมือนกันทุกชาติภาษา จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะประจำชาติที่มีพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม ไม่เหมือนกัน เช่น เพลงของอเมริกัน อินโดนีเซีย อินเดีย จีน ไทย  ย่อมมีโครงสร้างของทำนองที่ แตกต่างกัน  ทำนองของดนตรีไทยประกอบด้วยระบบของเสียง  การเคลื่อนที่ของเสียง ความยาว  ความกว้างของเสียง และระบบหลักเสียงเช่นเดียวกับทำนองเพลงทั่วโลก
    1. ทำนองทางร้อง  เป็นทำนองที่ประดิษฐ์เอื้อนไปตามทำนองบรรเลงของเครื่องดนตรี และมีบทร้องซึ่งเป็นบทร้อยกรอง ทำนองทางร้องคลอเคล้าไปกับทำนองทางรับหรือร้อง อิสระได้ การร้องนี้ต้องถือทำนองเป็นสำคัญ
    2. ทำนองการบรรเลง หรือทางรับ เป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีในวงดนตรี ซึ่งคีตกวีแต่งทำนองไว้สำหรับบรรเลง ทำนองหลักเรียกลูกฆ้อง “Basic Melody” เดิมนิยมแต่งจากลูกฆ้องของฆ้องวงใหญ่ และแปรทางเป็นทางของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ดนตรีไทยนิยมบรรเลงเพลงในแต่ละท่อน 2 ครั้งซ้ำกัน ภายหลังได้มีการแต่งทำนองเพิ่ม ใช้บรรเลงในเที่ยวที่สองแตกต่างไปจากเที่ยวแรกเรียกว่า “ทางเปลี่ยน”

4. การประสานเสียง

เป็นการทำเสียงดนตรีพร้อมกัน 2 เสียง พร้อมกันเป็นคู่ขนานหรือเหลื่อมล้ำกันตามลีลาเพลงก็ได้
    1. การประสานเสียงในเครื่องดนตรีเดียวกัน เครื่องดนตรีบางชนิดสามารถบรรเลงสอดเสียงพร้อมกันได้  โดยเฉพาะทำเสียงขั้นคู่   (คู่คู่คู่คู่คู่และ คู่7)
    2. การประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรี คือ การบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สุ้มเสียง และความรู้สึกของเครื่องดนตรีเหล่านั้น ก็ออกมาไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะบรรเลง เหมือนกันก็ตาม
    3.การประสานเสียงโดยการทำทาง  การแปรทำนองหลักคือ ลูกฆ้อง “Basic Melody” ให้เป็นทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเรียกว่า “การทำทาง” ทางของเครื่องดนตรี (ทำนอง)แต่ละชนิดไม่เหมือนกันดังนั้นเมื่อบรรเลงเป็นวงเครื่องดนตรีต่างเครื่องก็จะบรรเลงตามทางหรือทำนองของตน โดยถือทำนองหลักเป็นสำคัญของการบรรเลง


ที่มาข้อมูล : โลกดนตรีไทย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น